วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

กาแล็กซี่

                                                              กาแล็กซีและเอกภพ



             พวกเราอาศัยอยู่บนโลกสีน้ำเงินใบนี้  ซึ่งโครจรไปรอบ ๆ ดวงอาทิตย์ที่เป็นดาวฤกษ์  ขนาดกลางในเอกภพ  ดวงอาทิตย์ให้พลังงานความร้อนและแสงเป็นปริมาณมาก  จึงทำให้เรามองเห็นและรู้สึกถึงความร้อนได้ทั้ง ๆ   ที่ดวงอาทิตย์อยู่ไกลจากโลกมากถึง 148,800,000  กิโลเมตร
ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งในจำนวนหนึ่งแสนล้านดวงในกาแล็กซีของเราที่เรียกว่า  กาแล็กซีทางช้างเผือก  ดาวฤกษ์แต่ละดวงมีขนาดและสีแตกต่างกัน  กาแล็กซีทางช้างเผือกเป็นเพียง 1 ใน  หนึ่งแสนล้านกาแล็กซี  ที่ประกอบกันเป็นเอกภพ
เอกภพมีขนาดใหญ่มาก  ถ้าเราสามารถขี่จักรยานจากโลกไปดวงอาทิตย์ต้องใช้เวลารวม 718 ปี ความกว้างใหญ่ของเอกภพจะต้องวัดเป็นปีแสง ซึ่ง 1 ปีแสงเท่ากับระยะทางที่แสงเดินทาง 1 ปี (แสงเดินทางจากดวงอาทิตย์มายังโลกใช้เวลา 8.3 วินาที)  ความกว้างของกาแล็กซีทางช้างเผือกประมาณ 100,000 ปีแสง ยานอวกาศที่มนุษย์สร้างขึ้นเคลื่อนไหวได้เร็วเพียง 0.0001 เท่าของแสงเท่านั้น
      เมื่อสังเกตจากการนำภาพถ่ายมาวิเคราะห์เราอาจจำแนกชนิดของกาแลกซี่จำแนกประเภทของกาแลกซี่ได้  3   ประเภทใหญ่ๆ  ได้แก่  กาแลกซี่รูปวงกลมรี  กาแลกซี่รูปกังหัน  และ  กาแลกซี่อสันฐาน


1. กาแลกซี่รูปวงกลมรี ( E , elliptical  galaxies)
ใช้อักษร   E แทนกาแลกซี่พวกนี้แล้วต่อท้ายด้วยตัวเลขที่มีความหมายแทน  10  เท่าของความรีของแผ่นกาแลกซี่ที่ปรากฏเรียงลำดับรูปร่าง นับตั้งแต่เป็นทรงกลม   EO  ไปจนถึงกลมแบน E7 มองด้านข้างคล้ายเลนส์นูน  ( บริเวณตรงกลางสว่างเป็นรูปไข)
                                      
2. กาแลกซี่รูปกังหัน  หรือ  แบบก้นหอย ( S , Spiral  galaxies)
ใช้อักษร   S   แทน    กาแลกซี่พวกนี้  และแบ่งออกเป็น   a , b , c , และ d  มีหลักดังนี้  ความหนาแน่นของการขดของแกนกังหัน ความชัดเจนของการเห็นแกนกังหัน - ขนาดของนิวเคลียร์
                      กาแลกรูปกังหัน  แบ่งเป็น   2   ประเภท
                                    2.1   กาแลกซี่รูปกังหันปกติ (Barred  Spiral  galaxies) บริเวณตรงใจกลางมีลักษณะคล้ายเลนส์นูนทั้งสองหน้า   ขอบตรงข้ามมีแขน   2   แขนยืนออกมาแล้วหมุนวนรอบ  จุดศูนย์กลางไปทางเดียวกัน  ระนาบเดียวกัน  และแบ่งออกเป็น   3   ระดับ   ได้แก่- จุดกลางสว่าง บริเวณใจกลางขนาดใหญ่แบนบาง  แขนม้วนงอชิดกัน  เรียกว่า  สไปรัล  เอส เอ  ( Spiral  Sa) - จุดกลางสว่างไม่มาก  มีแขนหลวมๆ  สองข้างเบนออกกว้าง  เรียกว่า  สไปรัล  เอส บี ( Spiral  Sb) เช่น   กาแลกซี่ทางช้างเผือก-จุดกลางไม่เด่นชัด  บริเวณใจกลางเป็นแกนเหล็ก  แขนสองข้างใหญ่     ม้วนตัวอย่างหลวมๆ แยกออกจากกัน  เรียกว่า  สไปรัล  เอส ซี (Spiral  Sc)
                                     
                                                       
                                  2.2   กาแลกซี่อสันฐาน   หรือไร้รูปร่าง ( Irr , Irregular  galaxies) ใช้อักษร   Irr   แทน กาแลกซี่พวกนี้   และแบ่งออกเป็น   2   ประเภท  คือ- กาแลกซี่อสันฐาน 1 (Irr  I)   เป็นกาแลกซี่อสันฐานที่มีสสารอยู่ระหว่างดาวเป็นจำนวนมาก   พร้อมดาวฤกษ์อายุน้อยหรือดาวที่เพิ่งเกิดใหม่  มองเห็นเป็นความสว่างกระจัดกระจาย- กาแลกซี่อสันฐาน 2 (Irr  II)     มีจำนวนน้อย  รูปร่างไม่แน่นอน   ไม่ปรากฏให้เห็นเป็นดาวแยกเป็นดวงๆ แต่ประกอบด้วยฝุ่นและก๊าซปริมาณมาก   ตัวอย่างกาแลกซี่พวกนี้ได้แก่  เมฆแมกเจลเลนใหญ่  และเมฆแมกเจลเลนเล็ก    ซึ่งอยู่บนท้องฟ้าซีกโลกใต้  กาแลกซี่สว่างมากๆ ประมาณ 2 ใน 3     จะเป็นกาแลกซี่รูปกังหัน  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น